ฟังอัลกุรอาน | บทความ | ไฟล์เสียง | สไลด์ | วีดีโอ | หนังสือ | ตอบปัญหา | soundcloud

-----------------------------------------------------------

وَاذْكُرُوا نِعْمَةَ اللَّـهِ عَلَيْكُمْ وَمِيثَاقَهُ الَّذِي وَاثَقَكُم بِهِ إِذْ قُلْتُمْ سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا ۖ وَاتَّقُوا اللَّـهَ ۚ إِنَّ اللَّـهَ عَلِيمٌ بِذَاتِ الصُّدُورِ ﴿٧﴾ ?

5:7. และจงรำลึกถึงความกรุณาเมตตาของอัลลอฮ์ที่มีต่อพวกเจ้า และสัญญาของพระองค์ที่ได้ทรงกระทำมันไว้แก่พวกเจ้า ขณะที่พวกเจ้ากล่าวว่า พวกเราได้ยินแล้ว และพวกเราเชื่อฟังแล้ว และพึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้ถึงสิ่งที่อยู่ในทรวงอก

ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม หะดีษที่ 29 (การงานที่ทำให้ได้เข้าสวรรค์และห่างไกลจากนรก)

الحديث التاسع والعشرون - หะดีษที่ 29


عَنْ مُعاذٍ رضي الله عنه قال : قُلتُ : يا رَسولَ الله أَخبِرني بِعَمَلٍ يُدخِلُني الجَنَّةَ ويُباعِدُني مِنَ النَّارِ ،
มุอ๊าซบอกกับท่านนบีว่า “โอ้ท่านนบี โปรดบอกข้าพเจ้าด้วยการงานชนิดหนึ่ง ที่ทำให้ข้าพเจ้าได้เข้าสวรรค์และห่างไกลจากนรก”



قال : (( لقَدْ سَأَلْتَ عَنْ عَظيمٍ وإنَّهُ لَيَسيرٌ عَلَى مَنْ يَسَّرَهُ الله عليه : تَعْبُدُ الله لا تُشْرِكُ بهِ شيئاً ، وتُقيمُ الصَّلاةَ ، وتُؤتِي الزَّكاةَ ، وتَصُومُ رَمضَانَ ، وتَحُجُّ البَيتَ )) .
ท่านนบีตอบว่า “เจ้าได้ถามในเรื่องที่ยิ่งใหญ่จริง แต่มันเป็นเรื่องง่ายสำหรับบุคคลที่อัลลอฮฺให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับเขา (ท่านนบีตอบว่า) เจ้าต้องอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺโดยไม่ตั้งภาคีใดๆต่อพระองค์เลย ให้ดำรงซึ่งการละหมาด ดำรงการบริจาคทาน ดำรงซึ่งการถือศีลอดเดือนรอมฎอน และให้บำเพ็ญฮัจญฺยังบัยตุลลอฮฺ  


ثمَّ قالَ : (( ألا أَدُلُّكَ على أبوابِ الخير ؟ الصَّومُ جُنَّةٌ ، والصَّدقَةُ تُطْفِئُ الخَطيئَةَ كَما يُطفئُ الماءُ النارَ ، وصَلاةُ الرَّجُلِ مِنْ جَوفِ اللَّيلِ ، ثمَّ تلا : * تَتَجَافَى جُنُوبُهُمْ عَنِ الْمَضَاجِعِ * حتَّى بَلَغَ :  يَعْمَلُوْنَ  ( ) ،
แล้วท่านนบีได้บอกต่อไปว่า อยากให้ข้าพเจ้าแนะนำท่านซึ่งประตูแห่งความดีไหม การถือศีลอดนั้นเป็นเกราะ(สิ่งป้องกัน) ส่วนการบริจาคทานนั้นสามารถดับซึ่งความชั่วเปรียบเสมือนน้ำดับไฟ และการละหมาดของคนหนึ่งคนใดในช่วงกลางของกลางคืนนั่นก็เป็นประตูแห่งความดี แล้วท่านนบีก็ได้อ่านอายะฮฺ * تَتَجَافَى جُنُوبُهُمْ عَنِ الْمَضَاجِعِ *

อัลลอฮฺบอกว่า บุคคลที่ร่างกายของเขาห่างไกลจากที่นอน โดยเขาวิงวอนต่ออัลลอฮฺด้วยความยำเกรงและหวังในเมตตาของพระองค์ และเขายังมีส่วนหนึ่งจากทรัพย์สินที่นำไปบริจาค เจ้า(ท่านนบี)พึงรู้เถิดว่า บุคคลเหล่านั้นไม่มีใครจะรู้สิ่งที่อัลลอฮฺเตรียม(ปกปิด)ไว้ซึ่งความผาสุขต่างๆ(ในสวนสวรรค์)สำหรับคนเหล่านี้ 

 ثُمَّ قالَ : (( أَلا أُخْبِرُكُ برَأْسِ الأمْرِ وعَمودِه وذِرْوَة سنامِهِ ؟ )) قُلتُ : بَلَى يا رَسولَ الله ، قال : (( رَأسُ الأمْرِ الإسلامُ ، وعَمُودُه الصَّلاةُ ، وذِرْوَةُ سَنامِهِ الجهادُ )) ،
แล้วท่านนบีได้พูดต่อไปว่า “เจ้าอยากรู้ไหม (อยากให้ข้าพเจ้าบอกไหม) หัวหน้าของกิจการของเรา(ส่วนที่อยู่ในแนวหน้า เสาหลักในกิจการของเรา สิ่งที่อยู่สูงสุด(ยอด)ของกิจการของเรา)
ท่านมุอ๊าซกล่าวว่า “ได้โปรดบอกด้วยครับท่านนบี”
ท่านนบีตอบว่า “สิ่งที่อยู่ในแนวหน้าของกิจการของเราคือ การนอบน้อมถ่อมตนต่ออัลลอฮฺ(การยอมรับ สวามิภักดิ์) และเสาหลักของกิจการเราคือการละหมาด และสิ่งที่สูงสุด(ยอด)คือญิฮาด(การต่อสู้)”

ثم قال : (( ألا أُخبِرُكَ بمَلاكِ ذلك كُلِّهِ ؟ )) ، قلتُ : بلى يا رسول الله ،

ท่านนบีได้พูดต่อว่า “อยากให้ข้าพเจ้าบอกเจ้าไหมถึงสิ่งที่ควบคุมสิ่งเหล่านี้(ที่พูดไปแล้ว)ทั้งหมด”
มุอ๊าซตอบว่า “ได้โปรดบอกด้วย”

 فأخذ بلسانه ، قال : (( كُفَّ عَلَيكَ هذا )) ، قلتُ : يا نَبيَّ الله ، وإنَّا لمُؤَاخَذُونَ بِما نَتَكَلَّمُ بهِ ؟

ท่านนบีได้จับลิ้นของท่าน และบอกว่า “จงระงับส่วนนี้(คือลิ้น)”
มุอ๊าซบอกว่า “โอ้นบีของอัลลอฮฺ แล้วเราจะถูกสอบสวนในสิ่งที่เราพูดกระนั้นหรือ”

 فقالَ : (( ثَكِلتْكَ أُمُّكَ ، وهَلْ يَكُبُّ النَّاسَ في النَّارِ على وُجوهِهِمْ ، أو على مَنَاخِرِهم إلاَّ حَصائِدُ أَلسِنَتِهِم )) .
ท่านนบีบอกว่า “ถ้าเจ้าไม่เข้าใจ(ในเรื่องนี้)เจ้าก็จะประสบกับความหายนะ โดยที่มารดาของเจ้าจะได้เห็นความพินาศของเจ้า (นี่เป็นการขอดุอาอฺให้พ้นจากความชั่วร้ายที่จะเกิดขึ้น) อะไรเล่าที่มนุษย์ทั้งหลายถูกโยนลงในนรกโดยคว่ำหน้า(หรือคว่ำจมูกเขาบนไฟนรก) นอกจากผลของลิ้นของเขา”

หะดีษบันทึกโดยอิมามอัตติรมิซียฺ อิมามอะหมัด นะซาอียฺ

อธิบายหะดีษ

  • ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ครั้งที่ 141 (หะดีษที่ 29/2) -  "...อยากให้ข้าพเจ้าแนะนำท่านซึ่งประตูแห่งความดีไหม การถือศีลอดนั้นเป็นเกราะ(สิ่งป้องกัน) ส่วนการบริจาคทานนั้นสามารถดับซึ่งความชั่วเปรียบเสมือนน้ำดับไฟ และการละหมาดของคนหนึ่งคนใดในช่วงกลางของกลางคืนนั่นก็เป็นประตูแห่งความดี.."