ฟังอัลกุรอาน | บทความ | ไฟล์เสียง | สไลด์ | วีดีโอ | หนังสือ | ตอบปัญหา | soundcloud

-----------------------------------------------------------

وَاذْكُرُوا نِعْمَةَ اللَّـهِ عَلَيْكُمْ وَمِيثَاقَهُ الَّذِي وَاثَقَكُم بِهِ إِذْ قُلْتُمْ سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا ۖ وَاتَّقُوا اللَّـهَ ۚ إِنَّ اللَّـهَ عَلِيمٌ بِذَاتِ الصُّدُورِ ﴿٧﴾ ?

5:7. และจงรำลึกถึงความกรุณาเมตตาของอัลลอฮ์ที่มีต่อพวกเจ้า และสัญญาของพระองค์ที่ได้ทรงกระทำมันไว้แก่พวกเจ้า ขณะที่พวกเจ้ากล่าวว่า พวกเราได้ยินแล้ว และพวกเราเชื่อฟังแล้ว และพึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้ถึงสิ่งที่อยู่ในทรวงอก

เคาะวาตีมอัลบะเกาะเราะฮฺ

ตัฟซีรซูเราะตุลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺ 285-6
 
آمَنَ الرَّسُولُ بِمَا أُنْزِلَ إِلَيْهِ مِنْ رَبِّهِ وَالْمُؤْمِنُونَ كُلٌّ آَمَنَ بِاللَّهِ وَمَلَائِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ لَا نُفَرِّقُ بَيْنَ أَحَدٍ مِنْ رُسُلِهِ وَقَالُوا سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا غُفْرَانَكَ رَبَّنَا وَإِلَيْكَ الْمَصِيرُ ﴿285﴾

285. ร่อซูลนั้น(นะบีมุฮัมมัด) ได้ศรัทธาต่อสิ่งที่ได้ถูกประทานลงมาแก่เขาจากพระเจ้าของเขา และมุอฺมินทั้งหลายก็ศรัทธาด้วย ทุกคนศรัทธาต่ออัลลอฮฺและมลาอิกะฮฺของพระองค์ และบรรดาคัมภีร์ของพระองค์ และบรรดาร่อซูลของพระองค์ (พวกเขากล่าวว่า) เราจะไม่แยกระหว่างท่านหนึ่งท่านใดจากบรรดาร่อซูลของพระองค์  และพวกเขาได้กล่าวว่า   เราได้ยินแล้ว และได้ปฏิบัติตามแล้วการอภัยโทษจากพระองค์เท่านั้นที่พวกเราปรารถนา โอ้พระเจ้าของพวกเรา! และยังพระองค์นั้นคือการกลับไป




 
 

فضل خواتيم سورة البقرة
روى البخاري ومسلم عَنْ اِبْن مَسْعُود قَالَ : قَالَ رَسُول اللَّه صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : مَنْ قَرَأَ بِالْآيَتَيْنِ - مِنْ آخِر سُورَة الْبَقَرَة - فِي لَيْلَة كَفَتَاهُ"
روى الإمام أحمد عَنْ أَبِي ذَرّ قَالَ : قَالَ رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - " أُعْطِيت خَوَاتِيم سُورَة الْبَقَرَة مِنْ كَنْز تَحْت الْعَرْش لَمْ يُعْطَهُنَّ نَبِيٌّ قَبْلِي " وصححه الألباني
.
สองอายะฮฺสุดท้ายนี้เรียกว่า "เคาะวาตีม" มีความประเสริฐอย่างไร ?

ในบันทึกของอิมามบุคอรียฺและมุสลิม รายงานโดยอับดุลลอฮฺ อิบนิมัสอู๊ด ท่านนบี กล่าวว่า "ใครที่อ่านสองอายะฮฺสุดท้ายของบะเกาะเราะฮฺในคืนหนึ่งถือว่าพอเพียงแล้ว"
ในหะดีษนี้ท่านนบีไม่ได้บอกว่ามีความเพียงพอในเรื่องใด อุละมาอฺจึงมีความเห็นแตกต่างกัน อิมามนะวะวียฺบอกว่า "มีความพอเพียงในความคุ้มครอง" และอีกทัศนะหนึ่งว่า "มีความพอเพียงที่ไม่ต้องละหมาดกิยามุลลัยลฺ" เพราะสองอายะฮฺนี้เป็นเรื่องของการทำความศรัทธา ความดี การขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ ขอดุอาอฺ ซึ่งเป็นจุดหมายของกิยามุลลัยลฺ จึงเป็นความพอเพียงที่ไม่ต้องละหมาดกิยามุลลัยลฺ

แต่ทัศนะที่มีน้ำหนักคือ ความพอเพียงในการทำความดีสมบูรณ์และความคุ้มครอง ท่านอิหม่ามอะหมัดได้บันทึกไว้ เชคอัลบานียฺว่าศ่อฮี้ฮฺ รายงานจากอบีซัร อัลฆิฟารียฺ ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะซัลลัม กล่าวว่า "ฉันได้รับซึ่งตอนท้ายของซูเราะตุลบะเกาะเราะฮฺจากคลังทรัพย์ภายใต้พระบัลลังก์ของอัลลอฮฺ ไม่มีนบีก่อนหน้าฉันได้รับเหมือนฉัน" (คือไม่มีเนื้อหาเหมือนสองอายะฮฺในนบีก่อนๆ หรือศาสนาก่อนๆ และมีรางวัลที่จะได้รับจากการอ่านสองอายะฮฺนี้คือเมื่อขอแล้วอัลลอฮฺตะอาลาจะตอบว่า ข้าให้ๆๆๆ ตามหะดีษข้างต้น) นอกจากนั้นยังเป็นการบอกถึงความเมตตาของอัลลอฮฺในเรื่องการบังคับในศาสนาของพระองค์ในอายะฮฺที่ 286


لَا يُكَلِّفُ اللَّهُ نَفْسًا إِلَّا وُسْعَهَا لَهَا مَا كَسَبَتْ وَعَلَيْهَا مَا اكْتَسَبَتْ رَبَّنَا لَا تُؤَاخِذْنَا إِنْ نَسِينَا أَوْ أَخْطَأْنَا رَبَّنَا وَلَا تَحْمِلْ عَلَيْنَا إِصْرًا كَمَا حَمَلْتَهُ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِنَا رَبَّنَا وَلَا تُحَمِّلْنَا مَا لَا طَاقَةَ لَنَا بِهِ وَاعْفُ عَنَّا وَاغْفِرْ لَنَا وَارْحَمْنَا أَنْتَ مَوْلَانَا فَانْصُرْنَا عَلَى الْقَوْمِ الْكَافِرِينَ ﴿286

286. อัลลอฮฺจะไม่ทรงบังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใด นอกจากตามความสามารถของชีวิตนั้นเท่านั้น ชีวิตนั้นจะได้รับการตอบแทนดีในสิ่งที่เขาได้แสวงหาไว้ และชีวิตนั้นจะได้รับการลงโทษในสิ่งชั่วที่เขาได้แสวงหาไว้ โอ้พระเจ้าของพวกเรา! โปรดอย่าเอาโทษแก่เราเลย หากพวกเราลืม หรือผิดพลาดไป โอ้พระเจ้าของพวกเรา! โปรดอย่าได้บรรทุกภาระหนักใดๆแก่พวกเรา เช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงบรรทุกมัน แก่บรรดาผู้ที่อยู่ก่อนหน้าพวกเรามาแล้ว โอ้พระเจ้าของพวกเรา! โปรดอย่าให้พวกเราแบกสิ่งที่ไม่มีกำลังใดๆแก่พวกเราจะแบกมันได้และโปรดได้ทรงอภัยแก่พวกเราและยกโทษให้แก่พวกเรา และเมตตาแก่พวกเราด้วยเถิด พระองค์นั้นคือผู้ปกครองของพวกเรา ดังนั้นโปรดได้ทรงช่วยเหลือพวกเราให้ได้รับชัยชนะเหนือกลุ่มชนที่ปฏิเสธศรัทธาด้วยเถิด

 

ลายุกัลลัฟ - ไม่บังคับ
มุกัลลัฟ - ผู้ที่รับข้อบังคับบัญชาจากอัลลอฮฺ

"อัลลอฮฺจะไม่ทรงบังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใด นอกจากตามความสามารถของชีวิตนั้นเท่านั้น" ชีวิตที่ไม่มีสามารถก็ไม่บังคับสำหรับเขา แสดงว่าข้อบังคับที่อัลลอฮฺได้บัญญัติไว้เป็นข้อบังคับเสมอภาค(หมายถึงว่าทุกคนต้องทำ) เช่น ทุกคนต้องละหมาด ทั้งๆที่อัลลอฮฺบอกไว้ว่า "จงดำรงไว้ซึ่งการละหมาด" แต่สำหรับคนที่ละหมาดไม่ไหวหรือเป็นลมหรือชักหมดสติไปหลายวัน การละหมาดก็ไม่เป็นข้อบังคับสำหรับเขา เมื่อฟื้นมาแล้วก็ไม่ต้องละหมาดชดใช้ เพราะขณะหมดสติไปนั้นไม่ได้เป็นมุกัลลัฟ ไม่ได้อยู่ในสถานะที่ต้องปฏิบัติตามพระบัญชา เช่น สมมติคนหนึ่งไปสงครามเวียดนามกลับมาเสียสติไปไม่ได้ละหมาดสิบกว่าปี เมื่อหายแล้วก็ไม่ต้องชดใช้, แต่สำหรับมุกัลลัฟ ถ้าหลับไปจนเลยเวลาละหมาด เมื่อตื่นแล้วต้องละหมาดชดใช้ เพราะมีข้อแตกต่างระหว่าง "ขาดสติโดยถูกบังคับ" และ "ขาดสติโดยเราเลือก" เช่น คนที่ดื่มเหล้า เมาแล้วก็หย่าเมียหรือไปขโมยของคนอื่น เมื่อมีสติแล้วก็ต้องชดเชยเพราะเขาเลือกที่จะละเมิดเอง, แต่สำหรับคนที่หลับไปนั้นต้องละหมาดชดใช้ แต่ศาสนาไม่เอาโทษ ต่างจากคนที่ตื่นอยู่แล้วไม่ละหมาดจนหมดเวลาละหมาดไปแล้ว นั่นล่ะที่มีโทษ
 لَهَا مَا كَسَبَتْ وَعَلَيْهَا مَا اكْتَسَبَتْ 
"ชีวิตนั้นจะได้รับการตอบแทนดีในสิ่งที่เขาได้แสวงหาไว้ และชีวิตนั้นจะได้รับการลงโทษในสิ่งชั่วที่เขาได้แสวงหาไว้"

นักปราชญ์อิสลามได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้คือ สิ่งที่และสิ่งชั่วที่เราทำ , สำหรับศาสนาหรือลัทธิที่เชื่อว่ามีพระเจ้าเป็นผู้บันดาลทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมเชื่อว่ามีความดีความชั่วเพราะมันปรากฏแน่นอน แต่ความดีความชั่วนี้มาจากไหน ใครเป็นผู้สร้าง


- บางกลุ่มเชื่อว่าความชั่วนั้นอัลลอฮฺไม่ได้สร้าง มนุษย์ทำกันเอง ถ้าพูดว่าความชั่วมาจากอัลลอฮฺ แสดงว่าพระเจ้านั้นมีส่วนของความชั่วที่เกี่ยวกับพระองค์ แบบนี้เป็นพระเจ้าไม่ได้ พระเจ้าต้องสมบูรณ์ดีเลิศมีแต่ด้านดี

- หรือเชื่อว่าความชั่วความดีนั้นอัลลอฮฺทำทั้งหมด คืออัลลอฮฺตักดีรให้เกิดขึ้นเฉพาะความดี แต่บางอย่างปรากฏในสายตาของเราว่าเป็นความชั่ว เช่น พ่อซื้อยาไทยขมๆมาให้ลูกกิน ลูกไม่อยากกิน พ่อแม่ก็ช่วยกันจับตัวลูกให้กินยา คนข้างนอกมาเห็นก็มองว่าพอ่แม่ทรมานลูก เขาไม่เข้าใจว่าพ่อแม่เอายาให้ลูกกินเพราะอยากให้หายป่วย คนที่ไม่รู้ข้อเท็จจริงอาจมองว่าการกระทำบางอย่างเป็นความชั่ว เช่น เราประสบอุบัติเหตุรถชน, บ้านพัง หรือฝนตกหนักพืชผลเสียหายหมด แบบนี้เป็นสิ่งที่ไม่ดี เราไม่รู้ว่าสิ่งที่อัลลอฮฺให้เกิดกับเรานี้มันเป็นการดีอย่างไร, หรือถ้าเรามีสุขภาพดีมีเงินแต่เรากลับตะกับบร เอาไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง บางคนอาจคิดว่าถ้าอย่างนั้นเป็นกาฟิรจนยังดีกว่าเป็นมุอฺมินรวย เพราะเราไม่ได้มองด้านอื่น, หรือเราซื้อตั๋วเครื่องบินเป็นหมื่น แต่ตื่นสายพอถึงสนามบินปรากฏว่าเครื่องขึ้นไปแล้ว แบบนี้เรามองว่าไม่ดี แต่พอกลับมาบ้านดูข่าวปรากฏว่าเครื่องบินลำนั้นตก แสดงว่าที่อัลลอฮฺกำหนดไม่ให้ไปน่ะเรามองว่าไม่ดี แต่ที่จริงนั่นน่ะดีแล้ว


ทุกเหตุการณ์ที่เกิดบนโลกนี้เราไม่สามารถทราบเหตุผลของการเกิดได้ เราไม่รู้ว่ามันดีอย่างไร โลกนี้ดำเนินไปอย่างไร ดวงจันทร์ ต้นไม้ มันดำเนินไปอย่างไร ทำไมต้องเป็นเช่นนั้น เพราะเราไม่ใข่พระเจ้า แต่เราเป็นบ่าวที่มีความศรัทธาว่าพระเจ้ามีเดชานุภาพอย่างไร สิ่งที่อัลลอฮฺกำหนดนั้นดีทั้งสิ้นเหมาะสมที่สุด ความดีและความชั่วที่ปรากฏกับเราเป็นสิ่งที่เรา "แสวงหา"

กะสะบะ - มีความหมายว่า เป็นกำไร, ได้มา; เพราะสิ่งที่ขาดทุนเราไม่เรียกว่าได้; ในเรื่องที่เป็นความดีอัลลอฮฺจะใช้คำนี้

อิกตะสะบะ - แสวงหา, ทำเอง, ลงมือเอง; คำนี้จะใช้กับความชั่ว เพราะมนุษย์ส่วนมากสิ่งที่เป็นความชั่วก็โทษว่าเป็นการกำหนดของอัลลอฮฺ เพื่อให้พ้นความรับผิดชอบของตนเอง ทั้งๆที่เป็นสิ่งที่เขาแสวงหาเอา เช่น เป็นกะเทย ก็โทษว่าผมเกิดมาแบบนี้ มันอยู่ในยีน, แต่แท้จริงคนเราเกิดมานั้นชัดเจนว่าเป็นชายหรือหญิง ถ้าเป็นชายแล้วในใจอยากเป็นหญิง ก็ต้องปรับตัว เหมือนกับคนเกิดมาโดยฟิฏเราะฮฺ(ธรรมชาติอันบริสุทธิ์ที่อัลลอฮฺสร้างไว้) แต่พอโตมาอยากทำความชั่ว ก็ต้องควบคุมและระงับอารมณ์ตัวเอง
ทั้งหมดที่เราได้สะสมหรือแสวงหาไว้เป็นความรับผิดชอบที่จะถูกสอบสวน ถึงแม้ว่าเราจะทำความดีความชั่ว หรือผิดพลาดไป อัลลอฮฺก็ยังเปิดโอกาสให้เรากลับเนื้อกลับตัวด้วยคำวิงวอน(ดุอาอฺ)ที่พระองค์สอนในอายะฮฺสุดท้ายของบะเกาะเราะฮฺนี้ว่า

 

"ผู้ที่อยู่ก่อนหน้าพวกเรา" เช่น บนูอิสรออีล มีบทบัญญัติว่าถ้าเสื้อผ้าโดนนะญาซะฮฺซักไม่ได้ต้องตัด, คนที่ทำความชั่วแล้วไม่ได้เตาบัตคืนนั้น พอเช้าอัลลอฮฺจะเขียนไว้หน้าประตูบ้านว่าเขาไปทำอะไรมา, ห้ามกินสัตว์ที่มีเล็บ, วัวและแพะกินได้ แต่ห้ามกินส่วนไขมัน ยกเว้นไขมันที่ติดกับกระดูก, ห้ามทำงานในวันเสาร์ เป็นต้น ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เป็นภาระหนัก
เป็นเอกลักษณ์ของอิสลามในช่วง 23 ปีของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ท่านพยายามประคับประคองประชาชาติอิสลามไม่ให้ับภาระหนักแบบนี้ เช่น ละหมาด อัลลอฮฺเมตตาให้ลดจาก 50 เหลือ 5 วักตู (แต่ได้ผลบุญเท่ากับ 50 วักตู) นี่คือบะรอกัตของประชาชาติอิสลาม คือทำเพียงเล็กน้อยแต่อัลลอฮฺเพิ่มพูนให้


"เมาลา" (ผู้ปกครอง) ในอายะฮฺนี้ที่ชีอะฮฺเอามาอ้างในการตีความหมายหะดีษที่นบีกล่าวไว้ว่า "มันกุนตุมเมาลาฮุ ฟะอะลียุเมาลาฮุ" -- ใครที่ฉันเป็นเมาลา(ที่รัก)ของเขา อะลีก็เป็นเมาลา(ที่รัก)ของเขาด้วย -- ที่นบีกล่าวเช่นนี้เพราะในตอนนั้นมีพวกมุนาฟิกที่อิจฉาท่านอะลี ที่ไปไหนมาไหนกับท่านนบี และเริ่มปล่อยข่าวใส่ร้ายท่านอะลี เมื่อกลับจากสงครามท่านนบีจึงกล่าวหะดีษนี้ แต่ชีอะฮฺอ้างว่าคำว่า "เมาลา" ในหะดีษนี้หมายถึง ผู้ปกครอง ซึ่งถ้านบีกล่าวโดยหมายความเช่นนั้นและเศาะฮาบะฮฺเข้าใจตามนั้น ก็จะไม่มีใครกล้าเสนอตัวว่าเป็นผู้ปกครอง และท่านอะลีเองที่จะไม่กล้า เพราะหลังจากท่านรับตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺแล้วได้ขึ้นมิมบัรกล่าวว่า ถ้ามีหลักฐานชัดเจนจากท่านนบีว่าให้ฉันเป็นผู้ปกครอง แล้วอบูบักรหรืออุมัรต้องการจะเป็นผู้ปกครอง ก็ต้องเอาดาบมาสู้กัน, แต่ท่านอะลีไม่ได้ทำ เพราะไม่มีหลักฐานชัดเจนจากนบีว่าได้แต่งตั้งท่านอะลีเป็นผู้นำ
คำว่า "เมาลา" ในที่นี้หมายถึงอัลลอฮฺ เพราะอัลลอฮฺเป็นผู้ปกครอง แต่คำว่าเมาลา มีหลายความหมาย (เช่น ที่รัก ผู้ช่วยเหลือ ผู้ปกครอง) อุละมาอฺบางท่านว่ามีถึงสิบความหมาย



الدعاء من القارئ والإجابة من الخالق

 وروى ابن جرير عَنْ أَبِي إِسْحَاق أَنَّ مُعَاذًا - رَضِيَ اللَّه عَنْهُ - كَانَ إِذَا فَرَغَ مِنْ هَذِهِ السُّورَة" اُنْصُرْنَا عَلَى الْقَوْم الْكَافِرِينَ " قَالَ آمِينَ .وَرَوَاهُ وَكِيع عَنْ سُفْيَان عَنْ أَبِي إِسْحَاق عَنْ رَجُل عَنْ مُعَاذ بْن جَبَل أَنَّهُ كَانَ إِذَا خَتَمَ الْبَقَرَة قَالَ آمِينَ .
فِي صَحِيح مُسْلِم مِنْ حَدِيث أَبِي هُرَيْرَة قَالَ : " قَالَ اللَّه نَعَمْ " وَلِحَدِيثِ اِبْن عَبَّاس قَالَ اللَّه " قَدْ فَعَلْت
เมื่อมุอ๊าซอ่านอายะฮฺนี้แล้วจะกล่าวว่า "อามีน"

อัลลอฮฺตะอาลาได้กล่าว "นะอัม" เมื่อเราวิงวอนขอตามอายะฮฺนี้ หรือกล่าวว่า "ก็อดฟะอัลตุ(ข้าได้ทำแล้ว -- คือให้ในสิ่งที่เจ้าได้ขอมาแล้ว)" นี่คือรางวัลอันใหญ่หลวงที่เราจะได้จากอัลลอฮฺตะอาลา ซึ่งเป็นสิ่งที่เหมาะสำหรับผู้ศรัทธาที่ได้ศึกษาเรียนรู้หลักการของพระผู้เป็นเจ้าอย่างครบถ้วนและนำมาเป็นระบอบชีวิต และเป็นธรรมนูญปกครองชีวิตทุกส่วนของเขา ซึ่งจะทำให้อำนาจของอัลลอฮฺตะอาลาควบคุมทุกอย่างและทุกเรื่องในชีวิต คนประเภทนี้เมื่อขออะไรจากอัลลอฮฺก็น่าจะเป็นดุอาอฺมุสตะญาบ แตเป็นไปไม่ได้่สำหรับคนที่ละทิ้งพระบัญชาของอัลลอฮฺ ปฏิเสธไม่ยอมรับหลักการของศาสนา ไม่ยอมศึกษาแสวงหาเนื้อหาสัจธรรมที่มาจากอัลลอฮฺ การวิงวอนขอของเขาก็น่าจะถูกปฏิเสธการวิงวอน เพราะไม่ได้ยอมรับในเดชานุภาพของพระเจ้าในการบังคับบัญชาและบริหารชีวิตของเขา เป็นมนุษย์ที่เห็นแก่ตัว อยากจะได้เท่านั้น แต่อัลลอฮฺเมตตา และถ้าเราศรัทธาจริงก็ต้องศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างในคัมภีร์ของพระองค์
فَانْصُرْنَا عَلَى الْقَوْمِ الْكَافِرِينَ
"ดังนั้นโปรดได้ทรงช่วยเหลือพวกเราให้ได้รับชัยชนะเหนือกลุ่มชนที่ปฏิเสธศรัทธาด้วยเถิด"

นี่คืออะกีดะฮฺของมุอฺมินที่เชื่อว่าอัลลอฮฺอยู่ักับเขา ไม่ว่ากาฟิรจะมีนิวเคลียร์มีอาวุธแต่ก็ไม่เหนือไปกว่าอัลลอฮฺแน่นอน ดุอาอฺในอายะฮฺนี้ถ้าเราใช้ประจำโดยตระหนักถึงความหมายก็จะทำให้ชีวิตของเรามีความมั่นคง มั่นใจในตัวเอง ตระหนักในความศรัทธาอันมีประโยชน์สำหรับผู้ศรัทธาทั้งหลาย เพราะนี่เป็นดุอาอฺจากผู้ที่อ่าน และมีอิญาบะฮฺ(การตอบรับ)จากผู้ทรงสร้าง


   เรียบเรียงจากการบรรยายของ เชคริฎอ อะหมัด สมะดี, ตัฟซีรซูเราะตุลบะเกาะเราะฮฺ 147 (284-286 ครั้งสุดท้าย), วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม 2550