ฟังอัลกุรอาน | บทความ | ไฟล์เสียง | สไลด์ | วีดีโอ | หนังสือ | ตอบปัญหา | soundcloud

-----------------------------------------------------------

وَاذْكُرُوا نِعْمَةَ اللَّـهِ عَلَيْكُمْ وَمِيثَاقَهُ الَّذِي وَاثَقَكُم بِهِ إِذْ قُلْتُمْ سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا ۖ وَاتَّقُوا اللَّـهَ ۚ إِنَّ اللَّـهَ عَلِيمٌ بِذَاتِ الصُّدُورِ ﴿٧﴾ ?

5:7. และจงรำลึกถึงความกรุณาเมตตาของอัลลอฮ์ที่มีต่อพวกเจ้า และสัญญาของพระองค์ที่ได้ทรงกระทำมันไว้แก่พวกเจ้า ขณะที่พวกเจ้ากล่าวว่า พวกเราได้ยินแล้ว และพวกเราเชื่อฟังแล้ว และพึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้ถึงสิ่งที่อยู่ในทรวงอก

ความประเสริฐของสิบวันแรกในเดือนซุลฮิจญะฮฺ

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم : افْعَلُوْا الخَيْرَ دَهْرَكُمْ ، وَ تَعَرَّضُوْا لِنَفَحَاتِ رَحْمَةِ اللهِ ، فَإِنَّ للهِ نَفَحَاتٌ مِنْ رَحْمَتِهِ ، يُصِيْبُ بِهَا مَنْ يَشَاءُ مِنْ عِبَادِهِ ، وَسَلُوْا اللهَ أَنْ يَسْتُرَ عَوْرَاتِكُمْ ، وَأَنْ يُؤَمِّنَ رَوْعَاتِكِمْ
الراوي: أنس بن مالك - خلاصة الدرجة: حسن -رواه البغوي في شرح السنة المحدث: الألباني - المصدر: السلسلة الصحيحة - الصفحة أو الرقم: 1890

ความหมาย “พวกท่านทั้งหลายจงกระทำความดีตลอดชีวิต จงเสนอตัวแสวงหาพระเมตตาของอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺทรงให้บางช่วงมีความจำเริญด้วยพระเมตตาของพระองค์ อัลลอฮฺจะทรงประทานให้แก่บ่าวของพระองค์ที่พระองค์ทรงประสงค์ จงขอจากอัลลอฮฺให้อัลลอฮฺทรงปกปิดสิ่งที่ชั่วร้ายของพวกท่าน และให้พวกท่านได้รับความมั่นคง(สวัสดิภาพ)ในชีวิตของพวกท่าน

ความประเสริฐของสิบวันแรกซุลฮิจญะฮฺจากอัลกุรอาน

ในซูเราะฮฺอัลฮัจญฺ อายะฮฺ 27-28 อัลลอฮฺตรัสกับท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม ว่า
ي القرآن الكريم : وردت الإشارة إلى ضل هذه الأيام العشرة في بعض آيات القرآن الكريم ، ومنها قوله تعالى : وَأَذِّنْ فِي النَّاسِ بِالْحَجِّ يَأْتُوكَ رِجَالاً وَعَلَى كُلِّ ضَامِرٍ يَأْتِينَ مِنْ كُلِّ فَجٍّ عَمِيقٍ * لِيَشْهَدُوا مَنَافِعَ لَهُمْ وَيَذْكُرُوا اسْمَ اللَّهِ فِي أَيَّامٍ مَعْلُومَاتٍ ( سورة الحج : الآيتان 27 -28 ) . حيث أورد ابن كثير في تفسير هذه الآية قوله : " عن ابن عباس رضي الله عنهما : الأيام المعلومات أيام العشر " ابن كثير ، 1413هـ ، ج 3 ، ص 239 .

“และจงประกาศแก่มนุษย์ทั่วไปเพื่อการทำฮัจญฺ พวกเขาจะมาหาเจ้าโดยทางเท้าและโดยทางอูฐเพรียวทุกตัว จะมาจากทางไกลทุกทิศทาง* เพื่อพวกเขาจะได้มาร่วมเป็นพยานในผลประโยชน์ของพวกเขา(ด้านโลกและด้านศาสนา) และกล่าวพระนามอัลลอฮฺในวันที่รู้กันอยู่แล้ว ตามที่พระองค์ทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเขาจากสัตว์สี่เท้า ดังนั้นพวกเจ้าจงกินเนื้อของมัน และจงให้อาหารแก่ผู้ยากจนขัดสน”
อิบนุอับบาสกล่าวว่า “ในวันที่รู้กัน” คือ สิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ

อัลลอฮฺได้สาบานด้วยสิบวันแรกแห่งซุลฮิจญะฮฺ ในซูเราะฮฺอัลฟัจรฺ โดยพระองค์ได้ตรัสไว้ว่า“ขอสาบานด้วยยามรุ่งอรุณ และด้วยค่ำคืนทั้งสิบ”
ท่านอิมามฏ๊อบรียฺได้กล่าวว่า เป็นความเห็นเอกฉันท์ระหว่างผู้อธิบายความหมายอัลกุรอานว่า “ค่ำคืนทั้งสิบ” คือสิบคืนของซุลฮิจญะฮฺ
อิบนุกะษีรได้รายงานจากท่านอิบนุอับบาส อิบนุสุบัยรฺ มุญาฮิด และบรรดาสะลัฟอื่นๆ ว่า “ค่ำคืนทั้งสิบ” คือสิบคืนของซุลฮิจญะฮฺ

ความประเสริฐของสิบวันแรกซุลฮิจญะฮฺจากซุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

عن ابن عباس – رضي الله عنهما – عن النبي صلى الله عليه وسلم أنه قال : " ما من عملٍ أزكى عند الله ولا أعظم أجراً من خيرٍ يعمله في عشر الأضحى . قيل : ولا الجهادُ في سبيل الله ؟ . قال : " ولا الجهادُ في سبيل الله إلا رجلٌ خرج بنفسه وماله فلم يرجعْ من ذلك بشيء . قال وكان سعيد بن جُبيرٍ إذا دخل أيام العشر اجتهد اجتهاداً شديداً حتى ما يكاد يُقدرُ عليه " ( رواه الدارمي ، ج 2 ، الحديث رقم 1774 ، ص 41

จากการบันทึกของอิมามบุคอรียฺและอบูดาวู้ด รายงานโดยท่านอิบนุอับบาส

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“ไม่มีวันใดๆ การกระทำอันดีงามที่อัลลอฮฺทรงโปรดจะถูกกระทำในวันนั้นดีกว่าการกระทำสิ่งดีๆในบรรดาวันนี้(คือสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ)” 
เศาะฮาบะฮฺได้กล่าวว่า “แม้กระทั่ง(ดีกว่า)การทำญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺกระนั้นหรือ”
ท่านนบีตอบว่า “แม้กระทั่งการทำญิฮาด(หมายถึงจะไม่ดีกว่าการทำความดีในสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ) เว้นแต่ชายคนหนึ่งออก(จากบ้าน)ด้วยชีวิตและทรัพย์สิน(เพื่อทำญิฮาดในหนทาง ของอัลลอฮฺ) และไม่มีสิ่งใดจากนั้น(ชีวิตและทรัพย์สิน)ได้กลับมาเลย” 

(คือ เสียทรัพย์สมบัติและชีวิตของเขาไปในการญิฮาดเพื่ออัลลอฮฺตะอาลา แต่การญิฮาดอื่นๆจากนี้ก็ไม่ประเสริฐกว่าการปฏิบัติอิบาดะฮฺในสิบวันแรกของ ซุลฮิจญะฮฺ)

อีกสำนวนหนึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "ไม่มีอะมั้ลใดๆที่มีความประเสริฐ(มีความสง่างาม มีผลบุญยิ่งใหญ่มหาศาล) ดีกว่าการทำความดีในสิบวันของ(อีด)อัฎฮา"

أن الأعمال الصالحة في هذه الأيام أحب إلى الله تعالى منها في غيرها؛ فعن عبد الله بن عمر رضي الله عنه أنه قال : قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : " ما من أيام أعظم عند الله ، ولا أحب إليه العمل فيهن من هذه الأيام العشر فأكثروا فيهن من التكبير والتهليل والتحميد " رواه أحمد ، مج 2 ، ص 131 ، الحديث رقم 6154

ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิอุมัร รายงานจาก ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“ไม่มีวันใดๆที่ทรงเกียรติ ณ ที่อัลลอฮฺ และการทำความดีเป็นที่โปรดปราน ณ อัลลอฮฺในวันนั้นๆ ดีกว่าสิบวันแรก(ของซุลฮิจญะฮฺ) ดังนั้นพวกท่านจงขะมักเขม้นในการตักบีร ตะหฺลี้ล และตะหฺมี้ด (หมายถึงกล่าวถึงความเกรียงไกรและสรรเสริญสดุดีต่อพระองค์ด้วยคำว่า อัลลอฮุอักบัร ลาอิลาหะอิ้ลลัลลอฮฺ และ อัลฮัมดุลิลลาฮฺ)” บันทึกโดยอิมามอะหมัด

หะดีษนี้บ่งบอกถึงความประเสริฐของการปฏิบัติอิบาดะฮฺในสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ ซึ่งบรรดาอุละมาอฺได้ระบุไว้ว่า สิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺนั้นเป็นสิบวันอันประเสริฐที่สุดในระยะหนึ่งปี และมีอีกสิบคืนอันประเสริฐที่สุดคือสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ปรากฏว่าจะมีสิบคืนและมีสิบวัน ส่วนความประเสริฐของกลางวันคือสิบวันของต้นเดือนซุลฮิจญะฮฺ และสิบคืนที่ประเสริฐคือสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน และเราจะสังเกตว่าเมื่อสิ้นสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอนเราจะเฉลิมฉลองอีดุ้ลฟิฏริ เป็นการแสดงความยิ่งใหญ่ การขอบคุณต่ออัลลอฮฺตะอาลาที่พระองค์ประทานความเตาฟีกให้แก่บ่าวของพระองค์เพื่อให้ขยันทำอิบาดะฮฺตลอดเดือนรอมฎอน เฉพาะอย่างยิ่งสิบคืนสุดท้ายอันประเสริฐ เพราะเป็นช่วงเวลาแห่งคืนลัยละตุ้ลก๊อดรฺที่ท่านนบีให้เราค้นหา

สิบคืนสุดท้ายของรอมฎอนประเสริฐกว่า หรือสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺประเสริฐกว่า ?

ทัศนะ 1 สิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอนประเสริฐกว่า เพราะมีลัยละตุ้ลก็อดรฺ
ทัศนะ 2 สิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺประเสริฐกว่า เพราะท่านนบียืนยันไว้ในหะดีษข้างต้นที่ว่า “ไม่มีวันใดๆ การกระทำอันดีงามที่อัลลอฮฺทรงโปรดจะถูกกระทำในวันนั้นดีกว่าการกระทำสิ่ง ดีๆในบรรดาวันนี้(คือสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ)”
ทัศนะที่ 3 ซึ่งเป็นทัศนะของอิมามอิบนุตัยมียะฮฺคือ สิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอนประเสริฐกว่าสิบคืนแรกของซุลฮิจญะฮฺ และ(ช่วงกลางวันของ)สิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺประเสริฐกว่า(ช่วงกลางวัน)ของสิบ วันสุดท้ายในเดือนรอมฎอน - เพราะในหะดีษที่กล่าวถึงความประเสริฐของสิบวันแรกซุลฮิจญะฮฺ ท่านนบีใช้คำว่า "อัยยาม أيام" ซึ่งในสำนวนภาษาอาหรับหมายถึงช่วงกลางวัน ส่วนความประเสริฐของลัยละตุ้ลก็อดรฺก็อยู่ในช่วงกลางคืน เพราะลัยละตุ้ลก็อดรฺไม่มีในตอนกลางวัน

และเมื่อสิ้นสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺเราก็จะมีการฉลองอีดุ้ลอัฎฮา ซึ่งเราจะเฉลิมฉลองเพื่อแสดงความขอบคุณต่ออัลลอฮฺตะอาลาด้วยคำว่า "อัลลอฮุอักบะรุ้ลลอฮุอักบัร ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮุ วัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร วะลิลลาฮิลฮัมดฺ" ที่เราเรียกกันว่า ตักบีร ซึ่งหมายถึง การแสดงความเกรียงไกรต่อพระองค์อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือให้บรรดาผู้ศรัทธานั้นเคารพภักดีต่อพระองค์ แสดงการยืนยันว่าไม่มีสิ่งหนึ่งใดในชีวิตของผู้ศรัทธาที่ยิ่งใหญ่กว่าอัล ลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา และความหมายเหล่านี้เป็นความหมายที่เราต้องระลึกตลอดกาล เพราะเป็นสิ่งที่จะกระตุ้นอีมานของเราไม่ให้หลงกับดุนยา

ความประเสริฐของวันอะรอฟะฮฺ

عن أم المؤمنين عائشة رضي الله عنها-أنها قالت : عن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال : " ما من يومٍ أكثر من أن يُعتق الله عز وجل فيع عبداً من النار ، من يوم عرفة ، وإنه ليدنو ثم يُباهي بهم الملائكة ، فيقول : ما أراد هؤلاء ؟ " رواه مسلم ، الحديث رقم 3288 ، ص 568.
ท่านหญิงอาอิชะฮฺรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“ไม่มีวันใดที่อัลลอฮฺทรงปลดปล่อยบรรดาบ่าวของพระองค์จากนรกมากกว่าวันอะรอฟะฮฺ และแท้จริงพระองค์จะทรงอยู่ใกล้ชิดและทรงภูมิใจ(ด้วยการขยันทำความดีของบ่าว ของพระองค์)ต่อมลาอิกะฮฺ โดยพระองค์จะตรัส(ด้วยความภูมิใจ)ว่า คนเหล่านี้ประสงค์อะไรกัน(หมายถึงกล่าวถึงความปรารถนาอันทรงเกียรติของบ่าว ของอัลลอฮฺที่แสวงบุญในวันอะรอฟะฮฺ)” บันทึกโดยอิมามมุสลิม

عن أبي قتادة رضي الله عنه ، أن رسول الله ـ صلى الله عليه وسلم ـ قال: (( صيام يوم عرفة، أحتسب على الله أن يكفر السنة التي قبلة، والسنة التي بعده )) [ رواه مسلم: 3746 ] .

ในหะดีษบันทึกโดยอิมามมุสลิม ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "การถือศีลอดวันอะเราะฟะฮฺ หวังว่าอัลลอฮฺจะลบล้างความผิดปีก่อนหน้าและปีหลังจากนั้น"

จากแบบอย่างของบรรดาสะลัฟ
ท่านสะอี๊ด อิบนุญุบัยรฺ เมื่อถึงสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺท่านจะขยันทำอิบาดะฮฺอย่างมากมาย โดยไม่มีใครสามารถแข่งขันความดีกับเขาได้ (บันทึกโดยอิมามดาริมียฺ)

การทำความดีในสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถือว่าสิบวันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮฺเป็นฤดูแห่งการปฏิบัติอิบาดะฮฺที่ดีงามต่ออัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา คำว่า อิบาดะฮฺ เป็นคำนามที่รวบรวมทุกกิจกรรมที่เป็นการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ อย่าคิดว่าคำว่า "อิบาดะฮฺ" นั้นเกี่ยวกับการปฏิบัติศาสนกิจเท่านั้น ทฤษฎีของอัลอิสลามในการทำอิบาดะฮฺไม่เหมือนศาสนาอื่น ซึ่งศาสนาอื่นนั้นการปฏิบัติศาสนกิจนั้นเป็นพิธีต้องมีสถานที่มีอาคารที่ทำพิธี แต่อิสลามไม่ใช่อย่างนั้น

คำว่า "อิบาดะฮฺ" ในศาสนาอิสลามนั้นชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺอธิบายไว้ว่า เป็นคำที่มีความหมายรวมถึงการกระทำและคำกล่าวคำพูดที่เป็นที่รักที่โปรดของอัลลอฮฺ ถึงแม้ว่าการกระทำหรือคำพูดนั้นเราจะปฏิบัติโดยทางลับหรือเปิดเผยก็ตาม แสดงว่าคำว่าอิบาดะฮฺนั้นมันจะครอบคลุมกิจกรรมในชีวิตของเรา เช่น การละหมาด การแต่งงาน การเลี้ยงลูกหลาน การศึกษา การรักษาความสะอาดในอิสลามก็ถือว่าเป็นอิบาดะฮฺ(คือเป็นส่วนหนึ่งของอีมาน)

อิบาดะฮฺนั้นมิใช่จะเกี่ยวกับเรื่องละหมาด ถือศีลอด อ่านอัลกุรอาน เท่านั้น ความเข้าใจแบบนี้เราต้องละทิ้งและต่อต้านด้วย เพราะเป็นความเข้าใจที่จะทำให้มุสลิมีนเชื่อว่าการปฏิบัติอิบาดะฮฺอยู่ในมัสยิดเท่านั้น ส่วนชีวิตของเขานอกมัสยิดนั้นเป็นของเขาเองไม่เกี่ยวกับศาสนา นั่นเป็นความเข้าใจของมนุษย์บางคนที่เข้าใจว่านั่นคืออิสลาม ฉะนั้นเราจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอิบาดะฮฺเพื่อปฏิบัติในทุกฤดูที่มีความประเสริฐ เราต้องเข้าใจว่าทุกสิ่งที่เป็นคุณธรรมความดี เป็นประโยชน์ต่อชาวโลกต่อสังคมต่อมนุษย์ทุกคน นั่นถือว่าเป็นอะมั้ลเป็นการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา

กิจกรรมที่แนะนำให้ปฏิบัติในช่วงสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺคือ
  • การสรรเสริญสดุดีต่ออัลลอฮฺ : บรรดาสะละฟุศศอลิหฺจะขยันในการรำลึกถึงอัลลอฮฺด้วยเสียงเบาและเสียงดัง
  • การละหมาดซุนนะฮฺให้มากๆ
  • การเชือดกุรบาน(อุฎฮิยะฮฺ)
  • การบริจาคทานให้มากมาย
  • การถือศีลอด : ในการบันทึกของท่านอิมามดาวู้ดจากภรรยานบีบางท่าน กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มักจะถือศีลอด 9 วันของซุลฮิจญะฮฺ และวันอาชูรออฺ และสามวันจากทุกเดือน
  • การละหมาดกลางคืน (กิยามุลลัยลฺ)
  • การกลับเนื้อกลับตัวและสำรวมตนให้อยู่ในกรอบหลักการของอัลอิสลามอย่างสม่ำเสมอ

-----------------------------
จากการบรรยายเรื่อง "ความประเสริฐของสิบวันแรกในเดือนซุลฮิจญะฮฺ" โดย เชคริฎอ อะหมัด สมะดี, 1 ม.ค. 49