ฟังอัลกุรอาน | บทความ | ไฟล์เสียง | สไลด์ | วีดีโอ | หนังสือ | ตอบปัญหา | soundcloud

-----------------------------------------------------------

وَاذْكُرُوا نِعْمَةَ اللَّـهِ عَلَيْكُمْ وَمِيثَاقَهُ الَّذِي وَاثَقَكُم بِهِ إِذْ قُلْتُمْ سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا ۖ وَاتَّقُوا اللَّـهَ ۚ إِنَّ اللَّـهَ عَلِيمٌ بِذَاتِ الصُّدُورِ ﴿٧﴾ ?

5:7. และจงรำลึกถึงความกรุณาเมตตาของอัลลอฮ์ที่มีต่อพวกเจ้า และสัญญาของพระองค์ที่ได้ทรงกระทำมันไว้แก่พวกเจ้า ขณะที่พวกเจ้ากล่าวว่า พวกเราได้ยินแล้ว และพวกเราเชื่อฟังแล้ว และพึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้ถึงสิ่งที่อยู่ในทรวงอก

ความประเสริฐของสิบวันแรกซุลฮิจญะฮฺ


จากอัลกุรอาน

وردت الإشارة إلى ضل هذه الأيام العشرة في بعض آيات القرآن الكريم ، ومنها قوله تعالى : وَأَذِّنْ فِي النَّاسِ بِالْحَجِّ يَأْتُوكَ رِجَالاً وَعَلَى كُلِّ ضَامِرٍ يَأْتِينَ مِنْ كُلِّ فَجٍّ عَمِيقٍ * لِيَشْهَدُوا مَنَافِعَ لَهُمْ وَيَذْكُرُوا اسْمَ اللَّهِ فِي أَيَّامٍ مَعْلُومَاتٍ ( سورة الحج : الآيتان 27 -28 ) . حيث أورد ابن كثير في تفسير هذه الآية قوله : " عن ابن عباس رضي الله عنهما : الأيام المعلومات أيام العشر " ابن كثير ، 1413هـ ، ج 3 ، ص 239 .

ในซูเราะฮฺอัลฮัจญฺ อายะฮฺ 27-28 อัลลอฮฺตรัสไว้ว่า และจงประกาศแก่มนุษย์ทั่วไปเพื่อการทำฮัจญฺ พวกเขาจะมาหาเจ้าโดยทางเท้าและโดยทางอูฐเพรียวทุกตัว จะมาจากทางไกลทุกทิศทาง * เพื่อพวกเขาจะได้มาร่วมเป็นพยานในผลประโยชน์ของพวกเขา(ด้านโลกและด้านศาสนา) และกล่าวพระนามอัลลอฮฺในวันที่รู้กันอยู่แล้ว(คือวันเชือด) ตามที่พระองค์ทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเขาจากสัตว์สี่เท้า ดังนั้นพวกเจ้าจงกินเนื้อของมัน และจงให้อาหารแก่ผู้ยากจนขัดสน อิบนุอับบาสกล่าวว่า ในวันที่รู้กัน คือ สิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ

ในซูเราะฮฺอัลฟัจรฺ อัลลอฮฺได้ตรัสไว้มีความหมายว่า ขอสาบานด้วยยามรุ่งอรุณ และด้วยค่ำคืนทั้งสิบ

· ท่านอิมามฏ๊อบรียฺได้กล่าวว่า เป็นความเห็นเอกฉันท์ระหว่างผู้อธิบายความหมายอัลกุรอานว่า ค่ำคืนทั้งสิบ คือสิบคืนของซุลฮิจญะฮฺ

· อิบนุกะษีรได้รายงานจากท่านอิบนุอับบาส อิบนุสุบัยรฺ มุญาฮิด และบรรดาสะลัฟอื่นๆ ว่า ค่ำคืนทั้งสิบ คือสิบคืนของซุลฮิจญะฮฺ

จากซุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

ثانياً في السنة النبوية :
ورد ذكر الأيام العشر من ذي الحجة في بعض أحاديث الرسول صلى الله عليه وسلم التي منها :
الحديث الأول : عن ابن عباسرضي الله عنهماأنه قال : يقول رسول الله صلى الله عليه وسلم : " ما من أيامٍ العمل الصالح فيها أحبُّ إلى الله من هذه الأيامِ ( يعني أيامَ العشر ) . قالوا : يا رسول الله ، ولا الجهادُ في سبيل الله ؟ قال : ولا الجهادُ في سبيل الله إلا رجلٌ خرج بنفسه وماله فلم يرجعْ من ذلك بشيء " ( أبو داود ، الحديث رقم 2438 ، ص 370 .

จากการบันทึกของอิมามบุคอรียฺและอบูดาวู้ด รายงานโดยท่านอิบนุอับบาสจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

ไม่มีวันใดๆ การกระทำอันดีงามที่อัลลอฮฺทรงโปรดจะถูกกระทำในวันนั้นดีกว่าการกระทำสิ่งดีๆในบรรดาวันนี้(คือสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ) ศ่อฮาบะฮฺได้กล่าวว่า แม้กระทั่ง(ดีกว่า)การทำญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺกระนั้นหรือ ท่านนบีตอบว่า แม้กระทั่งการทำญิฮาด(หมายถึงจะไม่ดีกว่าการทำความดีในสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ) เว้นแต่ชายคนหนึ่งออก(จากบ้าน)ด้วยชีวิตและทรัพย์สิน(เพื่อทำญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ) และไม่มีสิ่งใดจากนั้น(ชีวิตและทรัพย์สิน)ได้กลับมาเลย(คือเสียทรัพย์สมบัติและชีวิตของเขาไปในการญิฮาดเพื่ออัลลอฮฺตะอาลา แต่การญิฮาดอื่นๆจากนี้ก็ไม่ประเสริฐกว่าการปฏิบัติอิบาดะฮฺในสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ)

أن الأعمال الصالحة في هذه الأيام أحب إلى الله تعالى منها في غيرها؛ فعن عبد الله بن عمر رضي الله عنه أنه قال : قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : " ما من أيام أعظم عند الله ، ولا أحب إليه العمل فيهن من هذه الأيام العشر أكثروا فيهن من التكبير والتهليل والتحميد " رواه أحمد ، مج 2 ، ص 131 ، الحديث رقم 6154

ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิอุมัร รายงานจากท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ไม่มีวันใดๆที่ทรงเกียรติ ณ ที่อัลลอฮฺ และการทำความดีเป็นที่โปรดปราน ณ อัลลอฮฺในวันนั้นๆ ดีกว่าสิบวันแรก(ของซุลฮิจญะฮฺ) ดังนั้นพวกท่านจงขะมักเขม้นในการตักบีร ตะหฺลี้ล และตะหฺมี้ด (หมายถึงกล่าวถึงความเกรียงไกรและสรรเสริญสดุดีต่อพระองค์ด้วยคำว่า อัลลอฮุอักบัร ลาอิลาหะอิ้ลลัลลอฮฺ และ อัลฮัมดุลิลลาฮฺ)บันทึกโดยอิมามอะหมัด

หะดีษนี้บ่งบอกถึงความประเสริฐของการปฏิบัติอิบาดะฮฺในสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ ซึ่งบรรดาอุละมาอฺได้ระบุไว้ว่า สิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺนั้นเป็นสิบวันอันประเสริฐที่สุดในระยะหนึ่งปี และมีอีกสิบคืนอันประเสริฐที่สุดคือสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ปรากฏว่าจะมีสิบคืนและมีสิบวัน ส่วนความประเสริฐของกลางวันคือสิบวันของต้นเดือนซุลฮิจญะฮฺ และสิบคืนที่ประเสริฐคือสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน และเราจะสังเกตว่าเมื่อสิ้นสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอนเราจะเฉลิมฉลองอีดุ้ลฟิฏริ เป็นการแสดงความยิ่งใหญ่ การขอบคุณต่ออัลลอฮฺตะอาลาที่พระองค์ประทานความเตาฟีกให้แก่บ่าวของพระองค์เพื่อให้ขยันทำอิบาดะฮฺตลอดเดือนรอมฎอน เฉพาะอย่างยิ่งสิบคืนสุดท้ายอันประเสริฐ เพราะเป็นช่วงเวลาแห่งคืนลัยละตุ้ลก๊อดรฺที่ท่านนบีให้เราค้นหา

และเมื่อสิ้นสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺเราก็จะมีการฉลองอีดุ้ลอัฎฮา ซึ่งเราจะเฉลิมฉลองเพื่อแสดงความขอบคุณต่ออัลลอฮฺตะอาลาด้วยคำว่า "อัลลอฮุอักบะรุ้ลลอฮุอักบัร ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮุ วัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร วะลิลลาฮิลฮัมดฺ" ที่เราเรียกกันว่า ตักบีร ซึ่งหมายถึง การแสดงความเกรียงไกรต่อพระองค์อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือให้บรรดาผู้ศรัทธานั้นเคารพภักดีต่อพระองค์ แสดงการยืนยันว่าไม่มีสิ่งหนึ่งใดในชีวิตของผู้ศรัทธาที่ยิ่งใหญ่กว่าอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา และความหมายเหล่านี้เป็นความหมายที่เราต้องระลึกตลอดกาล เพราะเป็นสิ่งที่จะกระตุ้นอีมานของเราไม่ให้หลงกับดุนยา

فعن أم المؤمنين عائشة رضي الله عنها-أنها قالت : عن رسول الله صلى الله عليه وسلم ق ;ال : " ما من يومٍ أكثر من أن يُعتق الله عز وجل فيع عبداً من النار ، من يوم عرفة ، وإنه ليدنو ثم يُباهي بهم الملائكة ، فيقول : ما أراد هؤلاء ؟ " رواه مسلم ، الحديث رقم 3288 ، ص 568.

ท่านหญิงอาอิชะฮฺรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

ไม่มีวันใดที่อัลลอฮฺทรงปลดปล่อยบรรดาบ่าวของพระองค์จากนรกมากกว่าวันอะรอฟะฮฺ และแท้จริงพระองค์จะทรงอยู่ใกล้ชิดและทรงภูมิใจ(ด้วยการขยันทำความดีของบ่าวของพระองค์)ต่อมลาอิกะฮฺ โดยพระองค์จะตรัส(ด้วยความภูมิใจ)ว่า คนเหล่านี้ประสงค์อะไรกัน(หมายถึงกล่าวถึงความปรารถนาอันทรงเกียรติของบ่าวของอัลลอฮฺที่แสวงบุญในวันอะรอฟะฮฺ) บันทึกโดยอิมามมุสลิม

จากบรรดาสะลัฟ

ท่านสะอี๊ด อิบนุญุบัยรฺ เมื่อถึงสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺท่านจะขยันทำอิบาดะฮฺอย่างมากมาย โดยไม่มีใครสามารถแข่งขันความดีกับเขาได้ (บันทึกโดยอิมามดาริมียฺ)

การทำความดีในสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ

ท่านนบีถือว่าสิบวันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮฺเป็นฤดูแห่งการปฏิบัติอิบาดะฮฺที่ดีงามต่ออัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา คำว่า อิบาดะฮฺ เป็นคำนามที่รวบรวมทุกกิจกรรมที่เป็นการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ อย่าคิดว่าคำว่า "อิบาดะฮฺ" นั้นเกี่ยวกับการปฏิบัติศาสนกิจเท่านั้น ทฤษฎีของอัลอิสลามในการทำอิบาดะฮฺไม่เหมือนศาสนาอื่น ซึ่งศาสนาอื่นนั้นการปฏิบัติศาสนกิจนั้นเป็นพิธีต้องมีสถานที่มีอาคารที่ทำพิธี แต่อิสลามไม่ใช่อย่างนั้น

คำว่า "อิบาดะฮฺ" ในศาสนาอิสลามนั้นชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺอธิบายไว้ว่า เป็นคำที่มีความหมายรวมถึงการกระทำและคำกล่าวคำพูดที่เป็นที่รักที่โปรดของอัลลอฮฺ ถึงแม้ว่าการกระทำหรือคำพูดนั้นเราจะปฏิบัติโดยทางลับหรือเปิดเผยก็ตาม แสดงว่าคำว่าอิบาดะฮฺนั้นมันจะครอบคลุมกิจกรรมในชีวิตของเรา เช่น การละหมาด การแต่งงาน การเลี้ยงลูกหลาน การศึกษา การรักษาความสะอาดในอิสลามก็ถือว่าเป็นอิบาดะฮฺ(คือเป็นส่วนหนึ่งของอีมาน) อิบาดะฮฺนั้นมิใช่จะเกี่ยวกับเรื่องละหมาด ถือศีลอด อ่านอัลกุรอาน เท่านั้น ความเข้าใจแบบนี้เราต้องละทิ้งและต่อต้านด้วย เพราะเป็นความเข้าใจที่จะทำให้มุสลิมีนเชื่อว่าการปฏิบัติอิบาดะฮฺอยู่ในมัสยิดเท่านั้น ส่วนชีวิตของเขานอกมัสยิดนั้นเป็นของเขาเองไม่เกี่ยวกับศาสนา นั่นเป็นความเข้าใจของมนุษย์บางคนที่เข้าใจว่านั่นคืออิสลาม ฉะนั้นเราจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอิบาดะฮฺเพื่อปฏิบัติในทุกฤดูที่มีความประเสริฐ เราต้องเข้าใจว่าทุกสิ่งที่เป็นคุณธรรมความดี เป็นประโยชน์ต่อชาวโลกต่อสังคมต่อมนุษย์ทุกคน นั่นถือว่าเป็นอะมั้ลเป็นการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา กิจกรรมที่แนะนำให้ปฏิบัติในช่วงสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺคือ

การสรรเสริญสดุดีต่ออัลลอฮฺ : บรรดาสะละฟุศศอลิหฺจะขยันในการรำลึกถึงอัลลอฮฺด้วยเสียงเบาและเสียงดัง

การละหมาดซุนนะฮฺให้มากๆ

การเชือดกุรบาน(อุฎฮิยะฮฺ)

การบริจาคทานให้มากมาย

การถือศีลอด : ในการบันทึกของท่านอิมามดาวู้ดจากภรรยานบีบางท่าน กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มักจะถือศีลอด 9 วันของซุลฮิจยะฮฺ และวันอาชูรออฺ และสามวันจากทุกเดือน

การละหมาดกลางคืน (กิยามุลลัยลฺ)

การกลับเนื้อกลับตัวและสำรวมตนให้อยู่ในกรอบหลักการของอัลอิสลามอย่างสม่ำเสมอ


จากสไลด์ประกอบการบรรยายเรื่อง "ความประเสริฐของสิบวันแรกในเดือนซุลฮิจญะฮฺ" โดย เชคริฎอ อะหมัด สมะดี, 1 ม.ค. 49